การดูเเลสุขภาพ

29
Oct
2014



วิธีการดูแลสุขภาพของตัวคุณและคนที่คุณรัก โดยการออกกำลังกายและรับประทานอาหาร


ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปทั้งในแง่การใช้แรงงานทำงานมาใช้สมองนั่งโต๊ะทำงาน การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบทำให้เกิดความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพตัวทำให้เกิดโรคต่างๆซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง เพียงใช้เวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมงก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้น    1.รู้จักประมาณตน การประมาณตนในการออกกำลังกายแต่พอควร จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารและพลังงานส่วนเกินได้ดี   2.เลือกเวลาออกกำลังกาย เวลาเช้าตรู่และตอนเย็นเหมาะที่สุดในการออกกำลังกายมากกว่าตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้เหนื่อยเร็วและได้ปริมาณน้อย บางรายอาจหน้ามืดเป็นลมก็มี ทั้งนี้ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของร่างกาย  3.จิตใจต้องพร้อม ควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หากมีเรื่องไม่สบายใจ ก็ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย     4.ความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงหรือลดน้ำหนัก แต่จะได้ผลแค่ไหนขึ้นกับปริมาณ และความหนักเบาของการออกกำลังกายด้วย
 การดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ต้องรู้จักการกินอาหารเป็นสิ่งสำคัญ รองลงมาคือการออกกำลังกาย ด้วยเหตุนี้ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิจัยโภชนาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านอาหารและโภชนาการ จึงได้จัดทำ ข้อปฏิบัติในการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 9 ข้อ หรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ” เพื่อเผยแพร่ให้ใช้ยึดเป็นแนวทางในการกินอาหารให้หถูกต้องตามหลักโภชนาการ
          โภชนบัญญัติ 9 ประการ ประกอบด้วย
    1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากกลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว เพื่อให้สารอาหารที่ ร่างกายต้องการอย่างครคบถ้วนและมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่อ้วนหรือผอมเกินไป
    2. กินข้าวเป็นหลักสลับกับอาหารแป้งในบางมื้อ เลือกกินข้าวกล้องแทนข้าวขาวและได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า
    3. กินผักให้มาก และกินผลไม้ประจำ กินผักและผลไม้ทุกมื้อ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและต้านโรคมะเร็งได้
    4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี และย่อยง่าย เป็นอาหารที่หาง่าย ถั่วเมล็ดแห้งเป็นโปรตีนจากพืชที่ใช้แทนเนื้อสัตว์ได้
    5. ดื่มนมให้เหมาะสมกับวัย นมช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เด็กควรดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1-2 แก้ว
    6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร กินอาหารประเภททอด ผัด หรือแกงกะทิ แต่พอควร เลือกกินอาหาร ประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง (ที่ไม่ไหม้เกรียม) แกงไม่ใส่กะทะเป็นประจำ
    7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด กินหวานมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด กินเค็มจัดเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน อาหารที่ไม่สุกและปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมี เช่น สารบอแร็กซ์ สารเร่งสี สารกันเชื้อรา สารฟอกขาว สารฆ่าแมลง ฟอร์มาลิน ทำให้เกิดโรคได้
    9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีความเสียงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคตับแข็ง โรคมะเร็งในหลอดอาหาร และโรคร้ายอีกมาก

วิธีการดูแลสุขภาพของตนเอง

โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
        ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ


1. การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ
เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่
- การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค

2. การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย

        การดูแลสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ และแข็งแรงอยู่เสมอ จะต้องปฏิบัติกิจกรรม ในด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ในชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ และสำรวจสุขภาพตนเอง ดังนี้
1. ดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด
  • อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

  • การรักษาอนามัยของดวงตา
    ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ เราควรหวงแหน และให้ความเอาใจใส่ ควรปฏิบัติดังนี้
    • อ่าน หรือเขียนหนังสือในระยะห่างประมาณ 1 ฟุต โดยมีแสงสว่างเพียงพอ แสงเข้าทางด้านซ้าย หรือตรงข้ามกับมือที่ถนัด หากรู้สึกเพลียสายตา ควรพักผ่อนสายตา โดยการหลับตา หรือมองไปไกลๆ ชั่วครู่
    • ดูโทรทัศน์ในระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรครึ่ง
    • บำรุงสายตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น มะละกอสุก ฟักทอง และผักบุ้ง เป็นต้น
    • ใส่แว่นกันแดด ถ้าจำเป็นต้องมองในที่ๆ มีแสงสว่างมากเกินไป
    • ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแผ่นทดสอบสายตา (E-Chart) ถ้าสายตาผิดปกติ ให้พบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสอบ และประกอบแว่นสายตา
  • การรักษาอนามัยของหู
    หูเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลให้ถูกต้อง ดังนี้
    • เช็ด บริเวณใบหู และรูหู เท่าที่นิ้วจะเข้าไปได้ ห้ามใช้ของแข็งแคะเขี่ยใบหู รูหู
    • คนที่มีประวัติว่า มีการอักเสบของหู ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหูเด็ดขาด
    • หากมีน้ำเข้าหู ให้เอียงหูข้างนั้นลง น้ำจะค่อยๆ ไหลออกมาได้เอง หรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดบริเวณช่องหูด้านนอก
  • ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นเพียงพอ
    การรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องนอนเป็นิส่งสำคัญ เสื้อผ้าที่ใช้แล้วทิ้ง ชั้นนอกและชั้นใน ต้องมีการทำความสะอาดด้วยสบู่ หรือผงซักฟอกทุกครั้ง นำไปผึ่งหรือตากแดดให้แห้ง ประการสำคัญ การสวมเสื้อผ้า ต้อใช้ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำๆ หรือซักไม่สะอาด อับชื้น เพราะจะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้
2. รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงขนมหวาน เช่น ลูกอม แปรงฟัน หรือบ้วนปากหลังรับประทานอาหาร ไม่ใช้ฟันขบเคี้ยวของแข็ง
3. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังการปรุงอาหาร รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และติดเชื้อโรคได้ ควรล้างมือให้ถูกวิธี ดังนี้
  • ให้มือเปียกน้ำ ฟอกสบู่ ถูให้ทั่วฝ่ามือ ด้านหน้า และด้านหลังมือ
  • ถูตามง่ามนิ้วมือ และซอกเล็บให้ทั่ว เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกไป พร้อมทั้งถูกข้อมือ
  • ล้างน้ำให้สะอาด แล้วเฃ็ดมือให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาด
4. รับประทานอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
  • เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงถึงหลัก 3 ป. คือ ประโยชน์ ปลอดภัย ประหยัด
  • ปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงถึงหลัก 3 ส. คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ สะอาดปลอดภัย
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารปรุงสักใหม่ และใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารรสจัด อาหารใส่สีฉูดฉาด
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
5. งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
  • ไม่เสพสารเสพย์ติดทุกชนิด เช่น บุหรี่ สุรา ยาบ้า กัญชา กาว ทินเนอร์
  • งดเล่นการพนันทุกชนิด
  • ไม่มั่วสุมทางเพศ
6. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
  • ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน
  • มีการปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
  • การเผื่อแผ่น้ำใจซึ่งกันและกัน
  • การทำบุญ และได้ทำกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน
7. ป้องกันอุบัติเหตุด้วยความำม่ประมาท
  • ดูแล ตรวจสอบ และระมัดระวังอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ไฟฟ้า เตาแก๊ส ของมีคม ธูปเทียนที่จุดบูชาพระ และไม้ขีดไฟ
  • ระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น การใช้ถนน โรงฝึกงาน สถานที่ก่อสร้าง และชุมชนแออัด เป็นต้น
8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี
การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตสมวัย กระตุ้นให้กระดูกยาวขึ้น และเข็งแรงขึ้น ทำให้สูงสง่า บุคลิกดี และยังช่วยผ่อนคลายความเครียด จากการทำงาน ตลอดจนเพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย โดย
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20-30 นาที
  • ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และวัย
  • ตรวจสอบสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง
9. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
  • พักผ่อน และนอนหลับให้เพียงพอ
  • จัดสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้าน และนอกบ้านให้น่าอยู่
  • มองโลกในแง่ดี ให้อภัย และยอมรับข้อบกพร่องของคนอื่น
  • เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ ควรหาทางผ่อนคลาย ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
10. มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม
ใช้ทรัพยากร เช่น น้ำ ไฟ อย่างประหยัด หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถุงพลาสติก โฟม ตลอดจนการร่วมมือกัน รักษาความสะอาด และเป็นระเบียบของสถานที่ทำงาน และที่พัก เป็นต้น

สุขภาพดีได้ด้วยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ

สุขภาพดีได้ด้วยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ
การออกกำลังกาย คือหนึ่งกิจกรรมสำหรับผู้รักสุขภาพ และต้องการมีรูปร่างและผิวพรรณที่ดี แต่การเลือกใช้นวัตกรรมบางประการเข้ามาช่วยในการออกกำลังกายจะช่วยให้คุณสามารถเผาผลาญไขมัน ในเวลาที่น้อยลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย สำหรับแนวทางในการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอนั้น ผู้เขียนจะขอแนะนำอย่างง่ายๆดังต่อไปนี้
1.เข้าใจหลักการง่ายๆของคาร์ดิโอเสียก่อน
หลักการง่ายๆของคาร์ดิโอคือ การทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะวิกฤตแบบเล็กๆ ซึ่งร่างกายจะดึงไขมันออกมาใช้ทันทีเพราะเข้าใจผิดว่าตนเองกำลังจะตาย โดยหลักการคือ ต้องให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ
2.วิธีวิ่งออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ
การทำคาร์ดิโอแบบง่ายที่สุดคือ การวิ่งออกำลังกายครับ โดยปกติจะใช้ระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที โดยแบ่งการวิ่งออกเป็นรอบสั้นๆคือรอบละ 5 นาที จะใช้การวิ่งแบบเบาๆ จนไปถึงสปีดให้เร็วที่สุดในช่วงนาทีสุดท้าย ทำแบบนี้วนเป็นรอบประมาณ 4 รอบ
3.จำนวนวันและเวลาในการทำคาร์ดิโอ
โดยปกติการทำคาร์ดิโอในช่วงเช้าจะช่วยเผาไขมันได้ง่ายกว่า และดีกว่าในช่วงเย็น สำหรับการทำคาร์ดิโอนั้นควรเริ่มจากสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาทีก่อน เพื่อการเริ่มต้น
4.สามารถทำคาร์ดิโอกับการออกกำลังกายแบบอื่นๆได้หรือไม่
สามารถทำได้ครับ โดยการประยุกต์หลักการที่ได้กล่าวไวข้างต้น คุณก็สามารถประยุกต์ใช้กับการออกกำลังกายแบบอื่นๆเช่น การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำเป็นต้น
ลองศึกษารายละเอียดของแต่ละหัวข้อดูนะครับ จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนารูปแบบและวิธีการในการออกกำลังกายเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กีฬาเปตอง

กีฬาฟุตบอล